<Previous | Next >
การถ่ายเทความร้อน
- วัตถุจะมีการแลกเปลี่ยนความร้อนระหว่างกันอยู่เสมอ โดยจำนวนพลังงานความร้อนที่ถูกถ่ายเทจะถูกคำนวนออกมาเป็นปริมาณความร้อน ซึ่งการวัดปริมาณความร้อนจะมีหน่วยการวัดที่เรียกว่า แคลอรี่ และ บีทียู
- ความร้อน 1 แคลอรี่คือปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำบริสุทธิ์ 1 กรัมมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1 องศาเซลเซียส
- ความร้อน 1 บีทียู คือปริมาณความร้อนที่ทำให้น้ำบริสุทธิ์หนัก 1 ปอนด์ มีอุณหภูมิสูงขึ้น 1 องศาฟาเรนต์ไฮต์
- ปริมาณความร้อนสะสมในวัตถุมีความสัมพันธ์กับอุณหภูมิและมวลของวัตถุ ซึ่งมวลของวัตถุก็ขึ้นกับจำนวนโมเลกุลที่เป็นองค์ประกอบของวัตถุนั้น ดังนั้น วัตถุที่มีมวลสูงมาก แม้ว่าจะมีอุณหภูมิต่ำ แต่ก็จะมีปริมาณความร้อนสะสมอยู่มาก
ความร้อนจะถ่ายเทจากที่ที่มีอุณหภูมิสูงไปยังที่ที่มีอุณหภูมิต่ำเสมอ
การถ่ายเทความร้อนจะเกิดขึ้นได้ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้
- การนำความร้อน: เป็นการถ่ายเทความร้อนผ่านของแข็ง โดยความร้อนจะเคลื่อนที่จากที่ที่มีอุณหภูมิสูงไปยังที่ที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า
โดยวัตถุตัวกลางไม่ได้เคลื่อนที่ตามไปด้วย
- การพาความร้อน: เป็นการถ่ายเทความร้อนที่อาศัยการเคลื่อนที่ของตัวกลาง
เช่นน้ำหรืออากาศ
เมื่อตัวกลางมีการเคลื่อนที่ก็จะพาความร้อนไปด้วย
- การแผ่รังสีความร้อน: เป็นการถ่ายเทความร้อนโดยไม่ต้องอาศัย
ตัวกลางใด ๆ พลังงานความร้อนจะถูกส่งออกไปยังวัตถุต่าง ๆ โดยตรงและทำให้วัตถุนั้น ๆ มีอุณหภูมิสูงขึ้น